รู้วงเงินก่อนออกรถ ผ่านมือถือ
กับกรุงศรี ออโต้
พร้อมสตาร์ท
สแกนเลย!
ประเมินวงเงินพร้อมสตาร์ท
รู้ผลใน 3 นาที
หรือ
ดูวงเงินพร้อมสตาร์ทที่ได้รับ
เคยประเมินแล้ว ดูวงเงินเลยจากสถิติของ “ศูนย์ข้อมูลอุบัติเหตุ” จะเห็นได้ว่าตัวเลขสถิติการเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนในปี 2565 มีผู้เสียชีวิตถึง 14,799 ราย และเป็นผู้บาดเจ็บสูงถึง 925,056 ราย จากยอดดังกล่าวแบ่งเป็นผู้ประสบเหตุเพศชายถึง 61.95% และเพศหญิง 38.05% และแบ่งตามผู้ประสบเหตุจากรถ 44.02% และรถจักรยานยนต์ 55.98% เมื่อเปรียบเทียบกับปี 2564 จะเห็นว่าเพิ่มสูงขึ้น จนเมื่อวันที่ 9 มกราคม 2566 ที่ผ่านมาก็เป็นวันแรกที่เริ่มใช้การตัดแต้มใบขับขี่อย่างเป็นทางการ เพื่อจะลดจำนวนการเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนน และสร้างวินัยจราจรให้มีมากขึ้นซึ่งทาง สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ได้ร่วมมือกับ กรมการขนส่งทางบก, ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) และ บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) ได้ร่วมมือกันเพื่อทำให้ระบบบันทึกคะแนนความประพฤติในการขับรถ หรือระบบตัดแต้มใบขับขี่นั้นได้ดำเนินการอย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นมาตรฐานสากล
โดยระบบบันทึกคะแนนความประพฤติถูกกำหนดไว้ใน "ระเบียบว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับระบบการบันทึกคะแนนความประพฤติในการขับรถของผู้ได้รับใบอนุญาตขับขี่ พ.ศ.2565" ซึ่งออกตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 142/1 ซึ่งเป็นมาตรการเสริมในการสร้างวินัยการขับขี่เพิ่มเติมจากการออกใบสั่งเพื่อบังคับใช้กฎหมายตามปกติ ภายใต้สโลแกน "มุ่งเน้นการสร้างวินัยการขับขี่ปลอดภัย ให้โอกาสแก้ไขไม่กระทำผิดซ้ำ สร้างความเท่าเทียมกันภายใต้กฎหมาย และเป็นมาตรฐานสากล"
โดยทุกๆ คนที่มีใบขับขี่ไม่ว่าจะเป็นประเภทใดก็ตามจะมีคะแนนความประพฤติอยู่ในมือ 12 คะแนน ถ้าเกิดคุณกระทำความผิดตามหลักเกณฑ์และเงื่อนที่กำหนด ก็จะถูกตัดแต้มจาก 2 กรณี ได้แก่
การตัดคะแนนจะตัดตามที่กำหนดในแต่ละข้อหาในแต่ละครั้ง แต่ถ้าเป็นการกระทำผิดครั้งเดียวก็ตัดคะแนนรวมกันได้เลยแต่ต้องไม่เกิน 8 คะแนนและเมื่อคะแนน 12 แต้มในใบขับขี่ถูกตัดจนหมดก็จะถูกพักใบอนุญาตขับขี่เป็นเวลา 90 วัน เมื่อครบแล้วก็จะสามารถก็จะกลับมาขับขี่ได้ แต่..จะไม่ได้คะแนนคืน แต่หากมีความจำเป็นที่จะต้องขับรถโดยไม่สามารถรอให้ครบระยะ 90 วัน ก็สามารถติดต่อขออบรมกับกรมการขนส่งทางบก และให้กรมการขนส่งทางบกพิจารณา จากนั้นกรมการขนส่งทางบกจะประสานไปยังสำนักงานตำรวจแห่งชาติเพื่อพิจารณาอนุญาตต่อไป แต่..ถ้ายังฝ่าฝืนขับขี่ทั้งๆ ที่ถูกพักใบอนุญาตก็จะมีโทษ ซึ่งโทษก็จะเป็นจำคุก 3 เดือน หรือ ปรับเงิน 10,000 บาท หรืออาจจะโดนโทษทั้งจำทั้งปรับ ตามมาตรา 156 หากถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตเป็นครั้งที่ 3 ภายใน 3 ปี อาจจะถูกสั่งพักใช้มากกว่า 90 วัน และหากยังถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตขับขี่อีกเป็นครั้งที่ 4 อาจถูกพิจารณาเพิกถอนใบอนุญาต
หลักเกณฑ์ในการตัดคะแนนใบขับขี่ มีดังนี้
แบบที่ 1 ตัดแต้มทันทีที่กระทำผิดซึ่งหน้า
1. ตัดแต้ม 1 คะแนน เมื่อกระทำความผิดเหล่านี้ ใช้โทรศัพท์มือถือขณะขับรถ, ไม่สวมหมวกกันน็อค, ไม่คาดเข็มขัดนิรภัย, ขับรถด้วยความเร็วเกินกำหนด, ขับรถบนทางเท้า, ไม่หยุดให้คนข้ามทางม้าลาย, ไม่หลบรถฉุกเฉิน, ขับรถโดยประมาทน่าหวาดเสียว, ขับรถไม่ติดป้ายทะเบียนหรือเปลี่ยนแปลง ปิดบัง และไม่ติดป้ายภาษี
2. ตัดแต้ม 2 คะแนน เมื่อกระทำความผิดเหล่านี้ ขับรถฝ่าฝืนสัญญาณไฟจราจร (ไฟแดง), ขับรถย้อนศร และขับรถระหว่างโดนพักใช้ หรือเพิกถอนใบขับขี่
3. ตัดแต้ม 3 คะแนน เมื่อกระทำความผิดเหล่านี้ ขับรถในขณะหย่อนความสามารถ, ขับผิดวิสัยคนขับรถธรรมดา และขับรถชนแล้วหนี
4. ตัดแต้ม 4 คะแนน เมื่อกระทำความผิดเหล่านี้ เมาแล้วขับ, ขับรถในขณะเสพยาเสพติด, แข่งรถในทางโดยไม่ได้รับอนุญาต และขับรถโดยไม่คำนึงถึงความปลอดภัยของผู้อื่น โดยในแบบนี้เจ้าของรถมีสิทธิ์โต้แย้งว่าไม่ได้ขับขี่ขณะนั้น จริงหรือไม่ ถ้าเป็นจริงก็จะไม่ถูกตัดแต้ม
แบบที่ 2 ตัดแต้มเมื่อไม่ชำระค่าปรับตามใบสั่ง โดยจะคิดจากการค้างชำระ 1 ใบสั่ง ตัด 1 แต้ม เมื่อกระทำความผิดเหล่านี้ ฝ่าฝืนเครื่องหมายจราจรในทาง, จอดในที่ห้ามจอด, ไม่แสดงใบอนุญาตขับขี่ และ ขับรถไม่ชิดซ้าย
วิธีการตัดคะแนนจะดำเนินการโดยระบบอิเล็กทรอนิกส์ โดยใช้ระบบฐานข้อมูลใบสั่ง PTM (Police Ticket Management) ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติในการบันทึกการทำผิดกฎจราจรและตัดคะแนนในแต่ละครั้ง แต่ก็จะมีส่วนของการคืนคะแนนอยู่ด้วย
โดยผู้ขับขี่ทุกท่านสามารถตรวจสอบคะแนนผ่านทางเว็บไซต์ E-Ticket PTM โดยธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) สามารถตรวจสอบใบสั่งค้างชำระ จ่ายค่าปรับ ตรวจสอบคะแนนความประพฤติ และตรวจสอบสถานะใบขับขี่ และสามารถตรวจสอบผ่านแอปพลิเคชัน ขับดี (KHUB DEE) เพื่อให้บริการข้อมูลข่าวสาร และตรวจสอบใบสั่งค้างชำระ และคะแนนความประพฤติ และดำเนินการด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการขับขี่อันเป็นประโยชน์ต่าง ๆ ตอนนี้มีเฉพาะบน App Store ล่าสุด ได้พัฒนาระบบบริการรับชำระค่าปรับผ่านระบบออนไลน์ เพื่อเพิ่มช่องทางการรับชำระค่าปรับผ่านช่องทางออนไลน์ สามารถทำรายการได้ด้วยตนเอง ตลอด 24 ชั่วโมง สามารถชำระผ่านทางเว็บไซต์ E-Ticket PTM และผ่านแอปพลิเคชันเป๋าตัง และแอปพลิเคชัน Krungthai Next โดยไม่มีค่าธรรมเนียม
ถือเป็นเรื่องที่ดีของระบบตัดแต้มใบขับขี่ เพราะจะช่วยยกระดับการควบคุมพฤติกรรมการขับขี่ ที่จริงการตัดแต้มผู้ขับขี่ไม่ใช่เรื่องใหม่เพราะในหลายประเทศก็มีการบังคับใช้ ที่ผ่านมาประเทศไทยยังทำไม่เต็มรูปแบบ อาจจะมาจากการขาดความพร้อมในเรื่องอุปกรณ์และการเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างหน่วยงานนั่นเอง
ประเมินวงเงินฟรีใน 3 นาที!
(ไม่ต้องใช้เอกสาร)
พร้อมออกรถคันใหม่ด้วยวงเงิน
จาก กรุงศรี ออโต้ พร้อมสตาร์ท
หรือหากเคยประเมินแล้ว